เมนู

9. ปิณโฑลภารทวาชสูตร



ว่าด้วยอินทรีย์ 3



[1003] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้กรุง
โกสัมพี ก็สมัยนั้น ท่านพระบิณโฑลภารทวาชะ ได้พยากรณ์อรหัตผลว่า
เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว....กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
[1004 ] ครั้งนั้น ภิกษุมากรูปเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ
ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระบิณโฑล-
ภารทวาชะพยากรณ์อรหัตผลว่า เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว . . . กิจอื่นเพื่อความ
เป็นอย่างนี้มิได้มี.
[1005] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระบิณโฑลภารทวาชะเห็น
อำนาจประโยชน์อะไรหนอ จึงพยากรณ์อรหัตผลว่า เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้น
แล้ว . . กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
[1006] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะ
ความที่อินทรีย์ 3 ประการ อันตนเจริญเเล้ว กระทำให้มากแล้ว ภิกษุ
บิณโฑลภารทวาชะ จึงพยากรณ์อรหัตผลได้ว่า เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว....
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
[1007] อินทรีย์ 3 ประการเป็นไฉน คือ สตินทรีย์ 1 สมาธิน-
ทรีย์ 1 ปัญญินทรีย์ 1.

[1008] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะความที่อินทรีย์ 3 ประการนี้แล
อันตนเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ภิกษุบิณโฑลภารทวาชะจึงพยากรณ์
อรหัตผลได้ว่า เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว.. .กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
[1009] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อินทรีย์ 3 ประการนี้ มีอะไรเป็น
ที่สุด มีความสิ้นเป็นที่สุด มีความสิ้นแห่งอะไรเป็นที่สุด มีความสิ้นแห่งชาติ
ชราและมรณะเป็นที่สุด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุบิณโฑลภารทวาชะเห็นว่า
ความสิ้นแห่งชาติ ชราและมรณะดังนี้แล จึงพยากรณ์อรหัตผลว่า เรารู้ชัดว่า
ชาติสิ้นแล้ว . . .กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
จบปิณโฑลภรทวาชสูตรที่ 9

10. สัทธาสูตร



ว่าด้วยศรัทธาของพระอริยสาวก



[1010] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ นิคมของชาวอังคะชื่อ
อาปณะ ในแคว้นอังคะ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกท่าน
พระสารีบุตรมาแล้วตรัสว่า ดูก่อนสารีบุตร อริยสาวกผู้ใดมีศรัทธามั่น เลื่อม
ใสยิ่งในพระตถาคต อริยสาวกนั้นไม่พึงเคลือบแคลงหรือสงสัยในตถาคตหรือ
ในศาสนาของตถาคต.
[1011] พระสารีบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อริยสาวก
ใดมีศรัทธามั่น เลื่อมใสยิ่งในพระตถาคต อริยสาวกนั้นไม่พึงเคลือบแคลง